มาถึง ตอนที่ 3 ตรงนี้เราได้พูดกันมาแล้วว่าเวชศาสต์วิถีชีวิตคืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร มาาเรียนรู้กันว่า ในทางปฏิบัติแล้ว มีอะไรบ้างที่เราสามารถกระทำได้และจำเป็นต้องทำในเรื่องนี้
1. เรื่องอาหารและโภชนาการ
2. การออกกำลังกาย
3. การจัดการความเครียด
4. การนอนหลับ
5. สารเสพติด
6. การสร้างเครือข่ายและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการมีสุขภาพดี
7. การสร้างสุขภาพจิตที่ดี
8. การดูแลเพื่อการป้องกันสุขภาพที่ดี
9. การควบคุมปัจจัยทางด้านการอนามัยสิ่งแวดล้อม และ
10. การสร้างเสริมการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมสุขภาพ
เวชศาสตร์วิถีชีวิตนี้ถือว่าเป็นแนวทางการรักษาสุขภาพแบบใหม่ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เราใช้ยี่ห้อผิด ก็เลยไม่ติดตลาด ผมได้ทำงานตามแนวคิดและแนวทางนี้มาตั้งแต่ปี 2511 แล้ว แต่ใช้ยี่ห้อว่า "การสุขศึกษา" คือการดำเนินการเพื่อสร้างพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลครอบครัว ชุมชนและสังคม กว่าที่จะขายความคิดว่าการสุขศึกษาไม่ใช่เพียงการให้ความรู้ แต่เป็นการสร้างเสริมและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพในลักษณะต่างๆก็ใช้เวลาหลายสิบปี
ลืมไปว่าเวลาที่มีสินค้าอะไรที่จะขายให้ได้ในวงการสุขภาพต้องมียี่ห้อว่า "เวช" หรือMedicine จึงจะขายได้ ดังนั้นตลาดของคำว่าเวชศาสตร์วิถีชีวิตจึงน่าจะเป็นตลาดใหม่ทั้งในประเทศไทยและในโลก สิ่งที่เป็นเรื่องขององค์ประกอบของเวชศาสตร์วิถีชีวิตนี้ ถ้ามีแพทย์มาศึกษา มีการเผยแพร่ดำเนินการอย่างเป็นระบบในลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ่วมกันในระหว่างสาขาต่างๆทางด้านสุขภาพและสาขาอื่นๆที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับสุขภาพ น่าจะประสบความสำเร็จได้โดยไม่ยากนัก
เนื้อหาส่วนหนึ่งในเนื้อหาการสอนในรายวิชา MPH5606 ความรอบรู้ทางสุขภาพ
ผู้สอนโดย ดร. ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์