หน้าหลัก > ข่าว > แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน > เวชศาสตร์วิถีชีวิต ตอนที่ 6
เวชศาสตร์วิถีชีวิต ตอนที่ 6

admin pbh
2024-05-05 10:30:38


การใช้สารเสพติด (Substance Abuse)

การใช้สารเสพติดในที่นี้เป็นการกำหนดจาก ICD10 ระหัส F.19.10 หรือระหัสการจำแนกโรคนานาชาติ ฉบับที่ 10 ภายใต้ระหัส F.10 นั่นคือ การเสพสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท จิตใจ พฤติกรรม และความผิดปกติด้านระบบประสาท ซึ่งในประเทศไทย ได้มีการจำแนกตาม DSM -5 คือ คู่มือวินิจฉัยอาการผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ซึ่งต้องใช้ความรู้ทางการแพทย์ในการจำแนกโรคในกลุ่มอาการที่เกิดจาก หรือมีผลจากการใช้สารเสพติดชนิดต่างๆ ในลักษณะต่างๆ

การดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน การควบคุม และการบำบัดปัญหานี้ เป็นการใช้วิธีการที่ต้องการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวม และการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ซึ่งมีแนวทางในกาีดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ

1. การส่งเสริมนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ เช่นการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การนันทนาการ ก่อนกินอาหารที่สมดุล การมีสังคมที่ดีทั้งในครอบครัว และในชุมชน และการจัดการความเครียด

2. การสนับสนุนด้านสังคม โดยการส่งเสริมคสามเชื่อมั่นในตนเองให้กับบุคคลต่างๆ การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม การสร้างความเข้มแข็งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ในกลุ่มต่างๆอย่างมีเครือข่าย

3. การรักษาด้วยกระบวนการทางพฤติกรรมศาสตร์เพื่อให้บุคคลมีจิตใจที่เข้มแข็ง โดยไม่ต้องพึ่งพาสารเสพติด

4. การมีสติ และการฝึกสร้างสมาธิ การฝึกปฏิบัติเพื่อช่วยจัดการกับความต้องการ การควบคุมอารมณ์ การรับรู้ตนเอง การพึ่งพาตนเองโดยไม่ต้องใช้สารเสพติด

5. การสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้สารเสพติด ผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ความสัมพันธ์และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน การเสริมสร้างความเข้าใจ และความสามารถในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาต่างๆอย่างมีสติ

6. การใช้วิธีการทางเลือกมาแทนที่เมื่อเกิดปัญหาความเครียด ส่งเสริมกิจกรรมการผ่อนคลาย และการแสดงออกของตนเอง

7. การสนับสนุนทางโภชนาการเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยส่งเสริมการกินอาหารที่มีวิตามิน สารอาหาร แร่ธาตุิและสารต้านอนุมูลอิสระ

8. ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เช่นการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การปรับปรุงอารมณ์บดความเครียด และการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม

9. ทำการประเมินสุขภาพที่เป็นธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาสุขภาพให้ดีที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้สารเสพติด

การดำเนินการในเรื่องนี้ ต้องอาศัยองค์ความรู้ในหลายด้านที่เป็นสหวิทยาการ และสังคมร่วมกัน ซึ่งยังขาดอยู่มาก ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์ต่างๆ ในชุมชน ไม่ว่าสถานศึกษา กลุ่มอาชีพ ศาสนา และ กลุ่มเศรษฐกิจต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง และ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน


เนื้อหาส่วนหนึ่งในเนื้อหาการสอนในรายวิชา MPH5606 ความรอบรู้ทางสุขภาพ

ผู้สอนโดย ดร. ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์