นับเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วที่มนุษยชาติรับรู้เรื่องสุขภาพในแนวลบมาตลอด
นั่นคือการมองจากภาวะที่เราเจ็บป่วยไปสู่ความพยายามที่จะทำอะไรที่ให้หายป่วยหายเป็นโรค
รอดพ้นจากการตายด้วยโรคหรือการเจ็บป่วยต่างๆ
เราเหน็ดเหนื่อยและทุ่มเททรัพยากรอย่างมากมายตามแนวคิดจากสภาพการเป็นลบ
ไปสู่สภาพการเป็นบวกถึงทุกวันนี้อยากให้สังคมสุขภาพทั่วโลกได้ทำอะไรให้มีความเท่าเทียมกัน
(Equity) ไม่มีความแตกต่างกันมากจนเกินไป
ในเรื่องสุขภาพ
ซึ่งมีทางเลือกอีกทิศทางหนึ่ง
คือการมองจากเรื่องที่เป็นบวก
แล้วทำให้เป็นบวกมากยิ่งขึ้น
นั่นคือการใช้การเวชศาสตร์วิถีชีวิต
ซึ่งผมได้เกริ่นนำเอาไว้เมื่อตอนที่แล้ว
เวชศาสตร์วิถีชีวิต
หมายถึง
"วิถีความเป็นอยู่และการทำงานในชีวิตของบุคคล
กลุ่มบุคคล และคนในสังคม
ที่สะท้อนให้เห็นได้จากการแสดงออกของเจตคติ
คุณค่า และการกระทำตามปกติวิสัย"
(อ้างอิงจาก
https://en.wiktionary.org/wiki/lifestyle.
January24,20190)
เวชศาสตร์วิถีชีวิต
เป็นแนวคิดทางการแพทย์ที่เน้นการป้องกันและรักษาโรคในมุมมองจากด้านบวก
โดยการให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและวิถีชีวิตของบุคคล
เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ
(Compliments)ของสุขภาพ คือ ร่างกาย จิตใจ
อารมณ์ สังคม จิตวิญญาณ
และสติปัญญาความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ
โดยการใช้หลักการของเวชศาสตร์วิถีชีวิต
ซึ่งประกอบด้วย
1.
การมุ่งเน้นที่การป้องกัน
2.
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในเรื่องต่างๆ
ซึ่งจะอธิบายในภายหลัง
3.
การใช้วิธีการทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ
4.
การทำงานร่วมกันของทีมงานที่เป็นสหวิทยาการ
5.
การใช้การศึกษา การเรียนรู้
และการฝึกฝนกระทำการเป็นเครื่องมือ
ดังนั้น
เวชศาสตร์วิถีชีวิต
จึงเน้นไปที่การป้องกันปัญหาสุขภาพที่เกิดจากชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคล
เพื่อสร้างสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
โดยการใช้วิธีการทางการแพทย์
การสร้างสุขภาพ
และการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
โดยไม่ต้องรอให้เจ็บป่วย เป็นโรค ไม่ใช้ยา
หรือการผ่าตัดในกรณีที่ไม่จำเป็น
เนื้อหาส่วนหนึ่งในเนื้อหาการสอนในรายวิชา
MPH5606 ความรอบรู้ทางสุขภาพ
ผู้สอนโดย
ดร. ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์