การออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในงานเวชศาสตร์วิถีชีวิต เพื่อการพัฒนาสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการป้องกันโรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรัง (Communicable and Chronic Disease) การออกกำลังกายเป็นพัฒนาการต่อเนื่องมาจาก Sensorymotor stage ตาม ทฤษฎีพัฒนาการของ ฌอง เพียเจต์ ที่เกิดขึ้นในคนตั้งแต่วัยที่อยู่ในท้องแม่จนถึงอายุ ๒ ขวบ การออกกำลังกายนี้มีการพัฒนาไปตามวัย ไม่ว่าสังคมจะจัดให้มีการเรียนรู้อย่างไร จนในที่สุดก็กลายเป็นแบบแผนการออกกำลังกายในวัยต่างๆ ตลอดชีวิต ซึ่งมีความสำคัญอย่างที่สุดที่จะต้องมีการปลูกฝังพฤติกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมการออกกำลังกายในแบบแผนที่เป็นไปเพื่อสุขภาพ โดยไม่ต้องมีการรณรงค์ กันอย่างที่เราทำกันทุกวันนี้
เด็กๆ ต้องส่งเสริมการเล่นและการออกกำลังกายด้วยการเดิน การวิ่ง การเล่นเกมส์ หรือกีฬาอะไรก็ได้ที่มีการใช้กำลังให้มีความสนุกสนาน ได้ประโยชน์ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยไม่จำเป็นว่าจะเล่นเพียงกีฬาที่มีการแข่งขัน ฝึกทักษะการล้ม การลุกให้ติดตัวไปจนตลอดชีวิต การเดินจากที่จอดรถในระยะที่สามารถกระทำได้ การเดินถนนที่ปลอดภัยืถูกต้องตามหลักการความปลอดภัยในการจราจร การขึ้นลงบันไดระหว่าง 1 ถึง 3 ชั้นโดยไม่ต้องใช้ลิฟต์
ส่วนในวัยผู้ใหญ่ ก็มีการออกกำลังกายทั้งด้วยกีฬาที่มีแบบแผน และไม่มีแบบแผน ด้วยความสนุกสนาน หรือความรื่นเริงบันเทิงใจ การเต้นรำ หรือร่วมกิจกรรมความรื่นเริงบันเทิงใจ ในลักษณะของนันทนาการ (entertainment) การสังคม และประเพณี วัฒนธรรม การใช้ชีวิตในบ้านและในที่ทำงานด้วยการเคลื่อนไหว ส่วนคนที่มีโอกาสร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย การกีฬาและ การใช้กำลังกายต่างๆ ก็ทำให้เป็นความชอบ เป็นนิสัย
สำหรับบุคคลในวัยสูงวัย ก็มีการส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหว มีกิจกรรมการท่องเที่ยว การออกกำลังกาย ให้เป็นปกติวิสัย ทำกิจกรรมเป็นชีวิตปกติประจำวัน แทนที่จะนั่งๆนอนติดบ้าน
การออกกำลังกายจึงเป็นวิถีชีวิตที่บุคคลต่างๆขาดไม่ได้ จะทำได้หรือไม่ อย่างไร อยู่ที่เราจะได้รับการปลูกฝังสร้างเสริม(Reinforce) และ จนเป็นกิจกรรมในชีวิตที่ขาดไม่ได้เหมือนกับอาหารและสังคมที่อยู่รอบตัวเรา เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเหมือนแมว 9 ชีวิต
เนื้อหาส่วนหนึ่งในเนื้อหาการสอนในรายวิชา MPH5606 ความรอบรู้ทางสุขภาพ
ผู้สอนโดย ดร. ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์