หน้าหลัก > ข่าว > แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน > เวชศาสตร์วิถีชีวิต ตอนที่ 7
เวชศาสตร์วิถีชีวิต ตอนที่ 7

admin pbh
2024-05-05 11:26:55


การนอนหลับอย่างมีสุขภาพ หรืออย่างมีคุณภาพนี้ มีแนวทางในการพิจารณาอยู่ 3 ประการด้วยกัน ประการแรก ในแง่ของ ชีวการแพทย์ หรือ biomedical aspect การนอนหลับที่พอเพียงตามหลักการของการนอนหลับอย่างมีสุขภาพนั้น เป็นการถนอมอายุของ telomere คือปลอกหุ้มปลาย DNA ของแต่ละคนที่มีความสั้นหรือยาวที่มีอยู่ตั้งแต่เกิดมาแล้ว ซึ่งจะบอกให้รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ได้นานเท่าไร และมีโรคอะไรเกิดขึ้นบ้างก่อนที่จะตาย การทำอะไรก็ตามหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้ศึกษาวิจัยแล้วว่าจะช่วยทำให้ความยาวของ telomereไม่ชำรุดสึกหรอ หรือหดสั้นลง เป็นสิ่งที่เราได้ทำกันอยู่ตามหลักเวชศาสตร์ เช่นเรื่องเกี่ยวกับอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด และการนอนหลับ

การที่บุคคลในวัยต่างๆ จำเป็นต้องนอนมากน้อยแค่ไหน นอนเมื่อไร นอนอย่างไร ตื่นเมื่อไร ตื่นแล้วทำอะไร เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การนอนหลับที่ถูกต้องสำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีความสำคัญต่อการลดความสึกหรอให้มีขนาดความยาวที่ไม่หดสั้นลง ซึ่งจะทำให้ชีวิตยืนยาวได้ตามที่ธรรมชาติได้กำหนดเอาไว้ตั้งแต่เกิด ซึ่งตามเกณฑ์แล้ว ถ้าไม่มีอะไรที่จะมาบ่อนทำลายสุขภาพ คนเราก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง120 ปี

ประการที่สอง เกี่ยวกับการนอนหลับ คือพฤติกรรมเกี่ยวกับการนอนหลับที่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เกิด และมีการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ หรือมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันที่จะต้องทำงานหรือใช้ชีวิต หรือวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ที่จะทำให้คนเรามีการนอนที่ถูกต้องหรือเหมาะสม เพื่อให้เกิดผลทางสุขภาพ

ประการที่สาม คือการนอนหลับในเชิงจิตวิทยาและสังคม เช่นที่เรานิยมทำกันอยู่ทุกวี่ทุกวัน คือการบอกกล่าวราตรีสวัสดิ์หรือฝันดี ทั้งในแบบไทย หรือแบบสากล ซึ่งมีหลายคำ หลายวลี และหลายประโยค ซึ่งในปัจจุบันถ้าไม่ได้พบกันตัวต่อตัว ก็ใช้วีดีโอคอลล์ดูหน้าดูตากัน หรือส่งข้อความส่งรูปสร้างความรูุ้สึกดีๆ ก่อนการนอนหลับไม่ว่าจะระหว่างพ่อ-แม่-ลูก พี่-น้อง สามี-ภรรยา คนรัก เพื่อนๆ หรือใครก็ได้เป็นการแสดงความรู้สึกให้กับคนที่รักและปรารถนาดี เรื่องนี้สำคัญมากนะ แต่จะได้ผลหรือไม่ได้ผลขึ้นอยู่กับความสำคัญในทางสังคม

ในวัยเด็กและวัยหนุ่มก็มีความเสี่ยงทางสุขภาพตามแบบฉบับของสังคมไทยในสมัยนั้นมากทีเดียว ยังไม่มีรายงานเสียด้วยว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้ telomere มันยืดยาวออกมาได้ นอกจากการถนอมมันไม่ไห้หดสั้นลงเท่านั้น


เนื้อหาส่วนหนึ่งในเนื้อหาการสอนในรายวิชา MPH5606 ความรอบรู้ทางสุขภาพ

ผู้สอนโดย ดร. ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์